หลักการเขียนโครงการวิจัย

researcherthailand

หลักการเขียนโครงการวิจัย

โครงการวิจัยและพัฒนาโดยทั่วไปนั้นจะประกอบด้วยหัวข้อการวิจัยที่จะต้องเขียนเสนอดังต่อไปนี้ (ทิศนาแขมมณี, 2527)

  1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาในหัวข้อนี้เป็นการอธิบายถึงความเป็นมาและสาเหตุของปัญหาหรือความต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าเป็นอย่างไรและความจำเป็นที่ผู้วิจัยจะต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหาหรือทาวิจัยและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากไม่สามารถแก้ปัญหาได้การเขียนควรนาเสนอปัญหาอย่างกระชับและตรงประเด็นโดยแสดงให้เห็นสภาพที่เป็นอยู่และสภาพที่คาดหวังให้เป็นการเขียนควรมีการอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
  2. วัตถุประสงค์การวิจัยการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยและพัฒนาให้เขียนเป็นข้อๆโดยมีหลักการเขียนดังนี้

1) วัตถุประสงค์การวิจัยต้องแสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยมุ่งพัฒนาหรือศึกษาอะไรซึ่งเป็นผลจากการดาเนินการไม่ใช่กระบวนการดาเนินการเช่น “เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์” แทนที่จะเขียนว่า“เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน” เป็นต้น

2) วัตถุประสงค์การวิจัยต้องสอดคล้องกับรูปแบบการวิจัยเช่นเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยว่า “เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน” แต่ในแบบแผนการวิจัยเป็นเพียงการวัดผลผู้เรียนในด้านต่างๆหลังเรียนเท่านั้นซึ่งในลักษณะนี้ควรเขียนว่า“ศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน …” เท่านั้น

  1. สมมติฐานการวิจัยเป็นการคาดเดาคาตอบล่วงหน้าที่เป็นไปตามเกณฑ์ของการพัฒนาที่เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการซึ่งผู้วิจัยต้องอาศัยการศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเช่นในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นยึดหลักการเรียนแบบรอบรู้คือผู้เรียนต้องมีผลการเรียนรู้ทั้งด้านกระบวนการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ทั้งสองด้านในระดับร้อยละ 80 ขึ้นไปดังนั้นจึงตั้งสมมติฐานของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ80/80เป็นต้นหรือกำหนดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนต้องสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ0.05ตามหลักการของการใช้สถิติภาคอ้างอิงเป็นต้นและการกำหนดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับดีซึ่งหมายถึงระดับค่าเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 หรือระดับ B ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์สากลซึ่งเป็นที่ยอมรับเป็นต้น
  2. กรอบแนวคิดในการวิจัยหมายถึงพื้นฐานทางทฤษฎีและหลักการที่ผู้วิจัยยึดถือและนำมาใช้ในการกำหนดลักษณะสำคัญของตัวแปรต้นและตัวแปรตามซึ่งนามาใช้เป็นแนวทางสาหรับการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยกรอบแนวคิดในการวิจัยจะต้องสรุปให้เห็นแนวคิดหรือหลักการที่แฝงอยู่ในนวัตกรรมและลักษณะสำคัญของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นนามาใช้เป็นตัวแปรจัดกระทาและการกำหนดลักษณะสำคัญที่สังเกตได้วัดได้ของตัวแปรตามเพื่อนามาใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือการวัดผลการนาเสนอกรอบแนวคิดในการ

วิจัยผู้วิจัยจึงต้องสังเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อสรุปที่เป็นแนวคิดและหลักการสำคัญที่ใช้ในการดาเนินการวิจัยหากสรุปและนาเสนอเป็นแผนภาพได้ก็จะมีความชัดเจนแต่ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว

  1. ขอบเขตในการวิจัยสิ่งที่ควรกล่าวถึงได้แก่

1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างโดยกล่าวถึงลักษณะของประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยว่าเป็นใครมีจานวนเท่าใดมีลักษณะเป็นอย่างไรการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรนั้นมีวิธีการเลือกมาได้อย่างไรจานวนเท่าใด

2) ตัวแปรในการวิจัยได้แก่ตัวแปรต้นและตัวแปรตามตัวแปรต้นในที่นี้คือตัวแปรจัดกระทาการทดลองหรือการใช้นวัตกรรมและตัวแปรตามคือผลการเรียนรู้อันเป็นผลจากการจัดกระทาการทดลอง

3) เครื่องมือในการวิจัยหมายถึงเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดประเมินผลตัวแปรตามในส่วนนี้ควรกล่าวถึงลักษณะและประเภทของเครื่องมือที่ใช้จานวนของเครื่องมือกระบวนการหรือวิธีการในการพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือเช่นในกรณีที่เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคุณภาพของเครื่องมือได้แก่ความตรงความเที่ยงความยากง่ายและอำนาจจำแนกของเครื่องมือเป็นต้น

  1. วิธีดำเนินการวิจัยเนื่องจากเป็นการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนดังนั้นในส่วนนี้ควรเขียนให้สอดคล้องกับกระบวนการของการออกแบบการเรียนการสอนโดยนาเสนอขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ผู้วิจัยควรนาเสนอขอบเขตของข้อมูลและสารสนเทศที่ต้องการวิเคราะห์เช่นการวิเคราะห์หลักสูตรการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียนและการวิเคราะห์สภาพและความต้องการของชุมชนเป็นต้นการนาเสนอวิธีการในการวิเคราะห์และเครื่องมือที่ใช้ตลอดจนกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญหรือแหล่งข้อมูลในการวิเคราะห์

ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนาเป็นขั้นที่ผู้วิจัยนาเสนอกระบวนการดาเนินการพัฒนาได้แก่การวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้การกำหนดและออกแบบสาระการเรียนรู้การกำหนดขั้นตอนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนการออกแบบและคัดเลือกสื่อการเรียนรู้การกำหนดวิธีการประเมินผลผู้เรียนเป็นต้นในองค์ประกอบการเรียนการสอนดังกล่าวมีวิธีดาเนินการให้ได้มาอย่างไรและมีกระบวนการที่จะตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เรียนอย่างไร

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินเป็นขั้นของการทดลองใช้นวัตกรรมกับผู้เรียนที่ไม่ใช่กลุ่ม

ตัวอย่างประชากรเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมซึ่งเป็นการประเมินความก้าวหน้าเพื่อนาผลมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมก่อนนาไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรเพื่อประเมินผลสรุปโดยการวัดผลการเรียนรู้หลังเรียนการวัดความพึงพอใจของผู้เรียนความคิดเห็นของผู้ใช้นวัตกรรมและการสังเกตการใช้นวัตกรรมเพื่อนาข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจว่านวัตกรรมที่ออกแบบนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ในขั้นนี้ผู้วิจัยควรจะได้กล่าวถึงประเด็นที่สำคัญดังนี้

1) การประเมินนวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกนั้นมีกระบวนการในการ

ดาเนินการอย่างไรการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญมีเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไรประเมินนวัตกรรมด้านใดใช้เกณฑ์ในการประเมินอย่างไรเป็นต้น

2) กระบวนการทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมโดยการทดสอบจากผู้เรียนนั้นทำอย่างไรเช่นการทดสอบแบบเดี่ยวแบบกลุ่มย่อยแบบกลุ่มใหญ่หรือภาคสนามทาอย่างไรใช้เกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร

3) แบบการวิจัยทดลองที่ใช้เป็นแผนงานในการทดลองและรวบรวมข้อมูลการวิจัย

ในขั้นประเมินผลรวมนั้นเป็นแบบใด

4) การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สถิติกับข้อมูลที่รวบรวมแต่ละประเภทเป็นอย่างไร

ใช้เกณฑ์ในการวิเคราะห์อย่างไรและแปลผลการวิเคราะห์อย่างไร

  1. ระยะเวลาในการดาเนินการวิจัยควรนาเสนอเป็นแผนผังควบคุมงาน (gantt chart)แสดงขั้นตอนของการดำเนินการวิจัยและระยะเวลาที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรมเพื่อใช้เป็นแผนงานสาหรับควบคุมการทางานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
  2. ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยในส่วนนี้ต้องระบุให้ชัดเจนว่างานวิจัยนี้จะได้ประโยชน์อะไรเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจว่าควรอนุมัติให้ทาหรือไม่อย่างไรเช่นการแก้ปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมการได้ข้อความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอนการเขียนในส่วนของประโยชน์ของการวิจัยนี้จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์แต่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ควรเขียนในลักษณะที่จะก่อให้เกิดประโยชน์และผลกระทบเมื่อนาผลการวิจัยไปใช้เป็นต้น
  3. งบประมาณที่ใช้ในการวิจัยสาหรับการเสนอโครงการวิจัยให้กับแหล่งผู้สนับสนุนทุนในการดำเนินการวิจัยนั้นส่วนนี้นับว่ามีความสำคัญควรศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนว่าแหล่งผู้สนับสนุนนั้นจัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายไว้อย่างไรและมีหลักเกณฑ์สาหรับการเบิกจ่ายในแต่ละหมวดอย่างไรเพื่อจะได้ทาให้ถูกต้องตามความต้องการของแหล่งทุนที่สนับสนุน

10) คณะผู้วิจัยควรระบุรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวของผู้วิจัยได้แก่ชื่อสกุลตำแหน่งสถานที่ปฏิบัติงานสถานที่ติดต่อคุณวุฒิและประสบการณ์ของผู้ทาวิจัยให้ชัดเจนตามแบบฟอร์มที่แจ้งไว้

ประเด็นการวิจัยทั้ง 10 ข้อนี้จะทาให้เห็นภาพงานของการวิจัยชัดเจนแต่จะต้องเขียนทั้ง 10หัวข้อนี้หรือไม่ขึ้นอยู่กับแบบฟอร์มของหน่วยงานที่ต้องการโครงร่างการวิจัยเป็นผู้กำหนด

You might also enjoy

ความแตกต่างของตัวแปรต้น/ตาม/ควบคุม
ความแตกต่างของตัวแปรต้น/ตาม/ควบคุม

วันนี้แอดมินพาเพื่อน ๆ ทุกคนมาอ่านความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมกันค่ะ😊 1️⃣ตัวแปรต้น : เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตัวแปรอิสระ”

เทคนิคการเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง
เทคนิคการเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง

เพื่อน ๆ เคยประสบปัญหางานยุ่ง มีอะไรให้ทำเยอะแยะ “จนอ่านหนังสือไม่ทัน” ไหมคะ?😭 ในเมื่อมีเวลาเหลืออยู่น้อยนิดในการอ่านและทำความเข้าใจ วันนี้แอดมินมีเทคนิคการอ่านหนังสือให้ทันในเวลาที่จำกัดมาให้เพื่อน ๆ ได้ลองทำตามกันดูค่ะ…

อ่านหนังสือไม่ทัน ทำอย่างไรดี
อ่านหนังสือไม่ทัน ทำอย่างไรดี

เพื่อน ๆ เคยประสบปัญหางานยุ่ง มีอะไรให้ทำเยอะแยะ “จนอ่านหนังสือไม่ทัน” ไหมคะ?😭 ในเมื่อมีเวลาเหลืออยู่น้อยนิดในการอ่านและทำความเข้าใจ วันนี้แอดมินมีเทคนิคการอ่านหนังสือให้ทันในเวลาที่จำกัดมาให้เพื่อน ๆ ได้ลองทำตามกันดูค่ะ…

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย