เคล็ดลับการเขียนบทตวามวิจัย

researcherthailand

เคล็ดลับการเขียนบทตวามวิจัย
ความเป็นมาและความสำคัญ

  การเขียนบทความวิชาการเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารของอาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะเผยแพร่องค์ความรู้จากการวิจัยและจากการศึกษาค้นคว้าของอาจารย์ไปสู่สาธารณชน ซึ่งบทความวิชาการในที่นี้หมายถึง บทความจากผลงานวิจัย หรือบทความวิชาการที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า แสดงแนวคิดเชิงวิชาการอย่างเป็นระบบของผู้เขียน ซึ่งผู้อ่านที่อยู่ในสาขาวิชาการหรือวิชาชีพนั้นสามารถตัดสินใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับจากการอ่านจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร

  ในปีการศึกษา 2557 วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ มีการเผยแพร่ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายของเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพองค์ประกอบที่7 ตัวบ่งชี้ที่ 7.2  การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันการเรียนรู้  งานจัดการความรู้จึงได้จัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการเขียนบทความวิชาการลงตีพิมพ์ในวารสารขึ้น เพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่ดี เผยแพร่ไปสู่อาจารย์ทุกคนให้ใช้เป็นแนวทางในการเขียนบทความวิจัย /บทความวิชาการ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารต่อไป

  แนวปฏิบัติที่ดีในการเขียนบทความวิชาการลงตีพิมพ์ในวารสาร

  1. การเตรียมตัวเขียนบทความ อาจารย์ควรปฏิบัติดังนี้

  1.1อ่านนโยบายและวัตถุประสงค์ของวารสาร เพราะขอบเขตเนื้อหางานวิจัย / บทความวิชาการ

จะต้องสอดคล้องกับนโยบายการจัดทำ หรือการจัดพิมพ์ของแหล่งเผยแพร่

อ่านคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความที่เจ้าของวารสารนั้นให้คำแนะนำไว้ และปฏิบัติตาม
คำแนะนำนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด

อ่านแนวทางการประเมินคุณภาพของบทความ งานวิจัยที่นำมาเขียนต้องมีคุณลักษณะของ
งานวิจัยที่ดี เช่น มีคุณค่า มีความใหม่ น่าสนใจ ถูกต้อง เป็นต้น

        1.4ควรอ่านและศึกษารูแบบการเขียนบทความจากวารสารหลายๆฉบับเพื่อเป็นแนวทางการเขียนและสร้างแรงบันดาลใจ

1.5ประเมินงานของตนเองตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนดนั้น

     2. การเขียนบทความวิจัยที่มีคุณภาพอาจารย์ควรปฏิบัติตามหลักการดังนี้

มีประเด็นหรือแนวคิดทางวิชาการที่ชัดเจน
มีความทันสมัย และวิเคราะห์เป็นไปตามแนวคิดและทฤษฎีที่เหมาะสมและชัดเจน
มีทัศนะของผู้เขียนบนฐานของข้อเท็จจริงทางวิชาการ
ควรค้นคว้าอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและเชื่อถือได้
ควรใช้ศัพท์และภาษาทางวิชาการที่ถูกต้องเหมาะสม
มีการนำเสนออย่างเข้าใจง่าย
หาแหล่งเผยแพร่บทความอาจารย์ควรปฏิบัติตามแนวทางดังนี้
3.1แหล่งเผยแพร่บทความวิจัย ได้แก่ วารสารวิชาการ และการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ซึ่งควรเป็นที่

ยอมรับของนักวิชาการในสาขาวิชานั้น ๆ โดยแหล่งเผยแพร่จะต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง จึงจะช่วยเพิ่มความสำคัญและสร้างคุณค่าของงานวิจัย

บทความวิจัยที่จะเผยแพร่ต้องเป็นบทความวิจัยที่ใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใด ซึ่งแหล่งเผยแพร่บทความ
วิจัยหลายแหล่งจะระบุไว้ว่าในการเสนอต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องไม่เคยหรืออยู่ในระหว่างการนำเสนอเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งอื่น ดังนั้นบทความวิจัยเรื่องเดียวกันจะทำได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถลงซ้ำ

องค์ความรู้ของผู้วิจัย/ ผู้ที่จะพิมพ์เผยแพร่ต้องรู้ลึกซึ้งในเรื่องนั้น
3.4 เลือกวารสารเป้าหมายหรือวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ ควรสอดคล้องกับชื่อบทความ

หาบุคคลที่สามารถช่วยเหลือได้ นำเข้าสู่ช่องทางของวารสารได้ถูกต้อง
สร้างเครือข่ายสำหรับนักวิจัยที่อยู่ในความสนใจเหมือนกัน
ส่วนประกอบของบทความที่อาจารย์ควรรู้
4.1 ส่วนประกอบของบทความวิจัย

1) ชื่อเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องต้องกระชับ และแสดงถึงภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้อง

เป็นประโยค แต่ที่สำคัญต้องตั้งชื่อให้ได้ตามความหมาย

  2) ชื่อผู้เขียน ต้องระบุชื่อผู้เขียน และผู้ร่วมเขียน หรือผู้ร่วมวิจัย

 3) บทคัดย่อ การเขียนบทคัดย่อมีความสำคัญมาก ควรเป็นส่วนสุดท้ายที่จะเขียน โดยมีความ

ยาวประมาณ 300 คำ หรือ10-15 บรรทัด เพราะถ้าเขียนยาวกว่าที่กำหนด จะถูกตัดส่วนเกินทิ้งไป ซึ่งอาจทำให้ใจความสำคัญขาดหายไป จึงควรเขียนให้ได้สาระสำคัญของเรื่องภายในความยาวที่กำหนดไว้

       4)บทนำ/ หลักการและเหตุผล ควรระบุความสำคัญของปัญหา 1-2 ย่อหน้า มีการร้อยเรียง

เนื้อหาอย่างเชื่อมโยงไม่ใช้วิธีการตัดต่อ หรือปะติดปะต่อ การเขียนควรให้ได้ข้อความที่แสดงถึงการลื่นไหลของความคิด เช่น ในหนึ่งย่อหน้า ควรมีประโยคแรกเป็นประโยคหลัก ตามด้วยประโยคสนับสนุน และลงท้ายด้วยประโยคสรุป เป็นต้น และต้องกล่าวถึงเหตุผลที่ศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ต่อจากนั้นในย่อหน้าที่ 3 หรือ 4 ให้เขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านได้ทราบความรู้เดิมของเรื่องที่วิจัยนั้น และใช้ประโยชน์ในการอภิปรายผล

5)ระเบียบวิธีวิจัย ควรระบุเกี่ยวกับ ประชากรที่ศึกษา ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

เครื่องมือวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

6)ผลวิจัยควรเขียนข้อค้นพบ และสถิติที่สำคัญ ควรรายงานผลตามวัตถุประสงค์การวิจัย เช่น

อธิบายตัวแปรแต่ละตัวแปร แล้วนำเสนอความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา ในรูปแผนภูมิ ตาราง หรือ บรรยายเป็นความเรียง เป็นต้น

     7)อภิปรายผลและข้อเสนอแนะการอภิปรายข้อค้นพบ  อภิปรายความ

สอดคล้องหรือความขัดแย้งกับสมมติฐาน หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง หรือเปรียบเทียบกับผลวิจัยอื่น โดยเฉพาะที่มีผลแตกต่างกัน สำหรับข้อเสนอแนะ ควรเขียนข้อเสนอแนะที่ได้อย่างชัดเจน และหากผลวิจัยครั้งนี้ไม่สามารถตอบคำถามวิจัยได้ ควรเขียนข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

        4.2 ส่วนประกอบของบทความวิชาการ

            1) ชื่อเรื่อง       2) บทคัดย่อ   

3) บทนำหรือคำนำ          4) วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 

5) กรอบแนวคิด (ถ้ามี)      6) การนำเสนอแนวคิด

            7)บทสรุป       8) เอกสารอ้างอิง

  5. ขั้นตอนการเขียนบทความ อาจารย์ควรปฏิบัติดังนี้

        5.1 เลือกเรื่องที่ผู้เขียนสนใจ  มีแหล่งค้นคว้าหรือหาข้อมูลสนับสนุนงานเขียน

        5.2 กำหนดจุดมุ่งหมายโดยกำหนดให้ชัดเจนว่าเขียนเพื่ออะไร และเขียนให้ใครอ่าน

        5.3กำหนดแนวคิดสำคัญ  หรือประเด็นสำคัญ  หรือแก่นของเรื่องที่จะนำเสนอผู้อ่าน

        5.4 ประมวลความรู้  แนวคิด  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง โดยค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆให้เพียงพอที่จะเขียน

        5.5วางโครงเรื่อง  กำหนดแนวทางการเขียนว่าจะนำเสนอสาระสำคัญ  แยกเป็นกี่ประเด็นใหญ่ๆ  มีอะไรบ้าง ในประเด็นหลักมีประเด็นย่อยๆ  มีตัวอย่าง มีเหตุผลเพื่อสนับสนุนประเด็นหลักอย่างไร

        5.6 การเขียน อาจารย์ควรดำเนินการดังนี้

              1) ขยายความข้อมูลในแต่ละประเด็น  มีการอธิบาย  ยกเหตุผลประกอบ  กล่าวถุงข้อมูลประกอบ  อาจเป็นสถิติ  ตัวเลข  ตัวอย่างเหตุการณ์  เป็นต้น

              2) เขียนคำนำและสรุปด้วยกลวิธีที่เหมาะสมกับประเภทของเนื้อหาบทความ

              3)ควรเลือกใช้ภาษาให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายการเขียน  ประเภท และเนื้อหา

              4)ความยาวของบทความไม่ควรเกิน 10 หน้าของวารสาร

              5)ลงรูปที่จำเป็น  แต่ละรูปควรมีคำอธิบายอยู่ใต้รูปด้วยว่าเป็นอะไรใช้ทำอะไร  หรือต้องการแสดงให้เห็นอะไร

              6) เขียนคำสรุป  การเขียนไม่จำเป็นต้องขึ้นหัวข้อย่อยว่า  “สรุป” เพราะเมื่อใดที่เนื้อหาหมดหรือสิ้นสุดของบทความแล้ว ย่อมหมายถึงการสรุป 

ข้อเสนอแนะ

  1.สิ่งสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการเขียนบทความคือ  ๆไม่ท้อถอยเมื่อต้องปรับปรุงแก้ไขบทความ

  2.อาจารย์ที่ไม่มีประสบการณ์เขียนควรมีที่ปรึกษาหรือเขียนเป็นทีม

  3.ผู้รับผิดชอบเรื่องการเผยแพร่ผลงานวิชาการของอาจารย์  ควรจัดหาแหล่งเผยแพร่ หรือวารสารที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการแล้วประชาสัมพันธ์ให้กับอาจารย์ทราบเป็นระยะ

.

………………………………………………

You might also enjoy

ความแตกต่างของตัวแปรต้น/ตาม/ควบคุม
ความแตกต่างของตัวแปรต้น/ตาม/ควบคุม

วันนี้แอดมินพาเพื่อน ๆ ทุกคนมาอ่านความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมกันค่ะ😊 1️⃣ตัวแปรต้น : เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตัวแปรอิสระ”

เทคนิคการเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง
เทคนิคการเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง

เพื่อน ๆ เคยประสบปัญหางานยุ่ง มีอะไรให้ทำเยอะแยะ “จนอ่านหนังสือไม่ทัน” ไหมคะ?😭 ในเมื่อมีเวลาเหลืออยู่น้อยนิดในการอ่านและทำความเข้าใจ วันนี้แอดมินมีเทคนิคการอ่านหนังสือให้ทันในเวลาที่จำกัดมาให้เพื่อน ๆ ได้ลองทำตามกันดูค่ะ…

อ่านหนังสือไม่ทัน ทำอย่างไรดี
อ่านหนังสือไม่ทัน ทำอย่างไรดี

เพื่อน ๆ เคยประสบปัญหางานยุ่ง มีอะไรให้ทำเยอะแยะ “จนอ่านหนังสือไม่ทัน” ไหมคะ?😭 ในเมื่อมีเวลาเหลืออยู่น้อยนิดในการอ่านและทำความเข้าใจ วันนี้แอดมินมีเทคนิคการอ่านหนังสือให้ทันในเวลาที่จำกัดมาให้เพื่อน ๆ ได้ลองทำตามกันดูค่ะ…

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย