10 วิธีแก้อาการสมองเบลอ หัวตื้อ คิดงานไม่ออก

ฉันเชื่อว่าทุกคนที่ทำงานเกี่ยวกับการคิดไอเดียใหม่ๆ ต้องเคยประสบกับปัญหาเหล่านี้ สมองเบลอ หัวตื้อ คิดงานไม่ออก แล้วก็ต้องมานั่งเซ็งเพราะทำงานต่อไม่ได้ เช่นเดียวกันกับการทำงานวิจัย ทำวิจัยเป็นเรื่องที่ต้องใช้พลังสมองเยอะมาก บางทีคุณอาจจะรู้สึกเบลอ หัวตื้อ คิดงานต่อไม่ออก แล้วอยากจะหาวิธีรีเฟรซตัวเอง แต่ไม่รู้จะทำอะไรดี วันนี้ทาง ResearcherThailand จะมาแชร์ 10 วิธีแก้อาการสมองเบลอ หัวตื้อ คิดงานไม่ออก เพื่อให้คุณสามารถลุยงานต่อได้ มีวิธีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1. อยู่ห่างจากงานสักพัก

ถ้าคิดอะไรไม่ออก คิดงานไม่ได้ เทให้หมดทุกอย่างค่ะ ไม่ว่างานนั้นจะเร่งด่วนสักแค่ไหนก็ตาม เพราะการที่คุณคิดอะไรไม่ออก ทำงานไม่ได้ มันส่อถึงภาวะกดดัน ความเครียดทางจิตใจ ร่วมกับการใช้งานสมองหนักเกินไป ส่งผลให้สมองเหนื่อยล้า เกิดภาวะสมองว่างเปล่าขึ้นมาได้ง่าย ๆ ซึ่งหากฝืนคิดงาน ทำงานต่อไป ผลงานก็อาจไม่ดีเท่าที่ควร ที่สำคัญคุณอาจจะรู้สึกเครียด รู้สึกไม่ภาคภูมิใจกับผลงานตัวเองอีกด้วยนะคะ ฉะนั้นถ้าคิดงานไม่ออกแบบถึงจุดพีคจริง ๆ แนะนำให้หยุดทำงาน ลองปล่อยสมองให้ว่าง หรือไปเดินเล่น ท่องโลกโซเชียล ให้เวลาตัวเองได้ทำสิ่งที่ไร้สาระสักพัก ถือเป็นการพักสมองไปในตัว

2. ดื่มน้ำเยอะ ๆ

บางคนงานยุ่งจนลืมดูแลตัวเอง แม้แต่การดื่มน้ำเปล่ายังไม่ค่อยจะได้จิบเลยด้วยซ้ำ ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้แหละค่ะที่พาให้ร่างกายเราเฉื่อย หัวสมองตื้อ ๆ หนัก ๆ อีกทั้งยังมีอาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตาร่วมด้วย เนื่องจากน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของร่างกาย โดยการดื่มน้ำจะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้เลือดและสมอง ช่วยในกระบวนการคิด การเรียนรู้ และการจดจำของเราดีขึ้นได้ง่าย ๆ ยิ่งไปกว่านั้นการดื่มน้ำสักแก้วก็ช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นขึ้นได้ทันทีอีกด้วยนะ

3. พักวาดรูปเล่น

ในกรณีที่มีอาการเหม่อลอย รู้สึกจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ทำงานก็ขาดตกบกพร่อง คิดงานก็ไม่ออก ลองหยิบกระดาษเปล่า ๆ กับดินสอหรือปากกาสักแท่ง มาขีด ๆ เขียน ๆ อะไรลงไปก็ได้ วิธีนี้จะช่วยให้เรียกสมาธิกลับคืนมาได้ ช่วยให้เราได้ระบายความฟุ้งซ่านในสมองถ่ายทอดไปพร้อมภาพวาดที่เลอะเทอะบนกระดาษ แล้วอีกสักพักคุณจะกลับไปโฟกัสกับงานตรงหน้าได้ในที่สุด

4. อ่านบทความดี ๆ

สาระดี ๆ ไม่ว่าจะในโซเชียล หรือแม้แต่กระดาษใส่กล้วยทอด บางครั้งข้อความที่เราเห็นผ่านตานั้นอาจให้แรงบันดาลใจ หรือปลุกพลังความคิดบางอย่างให้คุณได้เหมือนกัน ถ้าคิดอะไรไม่ออก คิดงานไม่ได้สักที ลองวิธีนี้บ้างก็ไม่เสียหายนะ

5. ออกไปเจอสายลม แสงแดด

สิ่งแวดล้อมเดิม ๆ ออฟฟิศติดแอร์ที่บรรยากาศเงียบมาก มีเพียงแต่เสียงต๊อกแต๊กของคีย์บอร์ดเท่านั้นที่ดังระรัว สถานการณ์แบบนี้อาจส่งผลต่อจิตใจ ทำให้คนทำงานรู้สึกเบื่อหน่าย เครียด กระทั่งหัวสมองไม่แล่นในที่สุด ดังนั้น ลุกค่ะ ! ออกไปสูดอากาศข้างนอก เดินเล่นให้ร่างกายได้ปะทะกับสายลม แสงแดด แกล้งแมว แกล้งสุนัขขำ ๆ บ้าง รีเฟรชตัวเองง่าย ๆ ด้วยธรรมชาตินี่แหละ

6. เข้าสังคมใหม่ ๆ

การได้ออกไปเจอสังคมใหม่ ๆ ได้คุยกับคนแปลกหน้าที่บังเอิญเดินสวนกันเกือบทุกวัน หรือแม้แต่การพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานคนละแผนก บางครั้งสิ่งเหล่านี้ก็สามารถกระตุ้นไอเดียเราได้อย่างไม่น่าเชื่อค่ะ หรืออย่างน้อย ๆ เราอาจจะเข้าใจชีวิตมากขึ้น เหมือนมีเพื่อนร่วมแชร์ (เม้าท์มอย) กลุ่มใหม่ ถือเป็นการเปิดโลกทางความคิดให้ตัวเองมากขึ้นไปในตัว

7. เช็กลิสต์หน่อยใหม่

หากภาระหน้าที่ของคุณมีมากซะเหลือเกิน จนสมองเบลอไม่รู้จะทำอะไรก่อนดี ลองตั้งสติแล้วค่อย ๆ ลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ วางแผนคร่าว ๆ กับลิสต์ที่เราเขียนไว้ สิ่งนี้ก็สามารถช่วยจัดระเบียบชีวิต คลายความกังวลให้คุณรู้สเต็ปว่าแต่ละวันต้องทำอะไรก่อน-หลังบ้าง เชื่อเถอะค่ะว่ามันช่วยได้มากจริง ๆ

8. ฟังดนตรีบรรเลงซะบ้าง

วิธีสร้างสมาธิในการทำงานของบางคนเขามีเทคนิคง่าย ๆ เพียงแค่เปิดเพลงบรรเลงที่มีแต่จังหวะ ทำนอง โดยไม่มีเนื้อร้องนี่แหละค่ะ เพราะเสียงเพลงบรรเลงจะช่วยเรียกสมาธิในการทำงานให้เราได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนนะคะ เพราะบางคนอาจฟังเพลงบรรเลงแล้วง่วง เสียงานเสียการกันไปใหญ่ แต่ถ้าฟังเพลงโปรดที่สามารถร้องตามได้ สมองจะแล่นเชียวแหละ เอาเป็นว่าลองฟัเพลงขณะทำงาน หาจุดที่ใช่สำหรับตัวเองดูแล้วกัน

9. หมั่นออกกำลังกาย

การออกกำลังกายให้ประโยชน์กับร่างกายเราแทบจะทุกด้าน โดยเฉพาะการไหลเวียนของโลหิตที่จะดีขึ้น เลือดไปเลี้ยงสมองได้ง่ายขึ้น ร่างกายก็มีความแข็งแรง เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า จะขยับตัวไปไหนก็คล่องแคล่วว่องไว งานการก็ลื่นไหลไปด้วย

10. นอนหลับให้เพียงพอ

ใครที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำ บ้างานหนักจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ขอร้องให้คุณเลิกพฤติกรรมดังกล่าวโดยเร็วที่สุดเลยค่ะ เพราะเมื่อร่างกายได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ สมองก็จะเบลอ ๆ ล้า ๆ ทำงานไปแบบง่วง ๆ ประสิทธิภาพการทำงานย่อมลดลงอยู่แล้ว

                  สุดท้ายนี้ เราอยากแนะนำให้ลองพักร้อนไปเที่ยวในสถานที่ที่ไม่เคยไปดูบ้าง เพราะการคิดอะไรไม่ออกมันเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณเหนื่อยล้ามากเกินไปแล้ว ขอเวลารีแล็กซ์ให้ตัวเองสักแป๊บก็ดีค่ะ ที่สำคัญพยายามอย่ากดดันตัวเองให้รู้สึกเครียดจนเกินไป เพราะความเครียดนี่แหละคือปัจจัยกระตุ้นให้สมองเราตื้อตัน คิดงานไม่ออกมากขึ้นไปอีก !

You might also enjoy

ความแตกต่างของตัวแปรต้น/ตาม/ควบคุม
ความแตกต่างของตัวแปรต้น/ตาม/ควบคุม

วันนี้แอดมินพาเพื่อน ๆ ทุกคนมาอ่านความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมกันค่ะ😊 1️⃣ตัวแปรต้น : เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตัวแปรอิสระ”

เทคนิคการเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง
เทคนิคการเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง

เพื่อน ๆ เคยประสบปัญหางานยุ่ง มีอะไรให้ทำเยอะแยะ “จนอ่านหนังสือไม่ทัน” ไหมคะ?😭 ในเมื่อมีเวลาเหลืออยู่น้อยนิดในการอ่านและทำความเข้าใจ วันนี้แอดมินมีเทคนิคการอ่านหนังสือให้ทันในเวลาที่จำกัดมาให้เพื่อน ๆ ได้ลองทำตามกันดูค่ะ…

อ่านหนังสือไม่ทัน ทำอย่างไรดี
อ่านหนังสือไม่ทัน ทำอย่างไรดี

เพื่อน ๆ เคยประสบปัญหางานยุ่ง มีอะไรให้ทำเยอะแยะ “จนอ่านหนังสือไม่ทัน” ไหมคะ?😭 ในเมื่อมีเวลาเหลืออยู่น้อยนิดในการอ่านและทำความเข้าใจ วันนี้แอดมินมีเทคนิคการอ่านหนังสือให้ทันในเวลาที่จำกัดมาให้เพื่อน ๆ ได้ลองทำตามกันดูค่ะ…

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย