“5 คอร์สออนไลน์เรียนฟรีเพิ่มสกิลให้ตัวเอง”

“5 คอร์สออนไลน์เรียนฟรีเพิ่มสกิลให้ตัวเอง”วันนี้เรามีคอร์สออนไลน์น่าเรียนมาแนะนำเพื่อนๆ กันค่ะ ในช่วงที่หลายท่านก็ได้ Work From Home รวมถึงน้องๆ วัยเรียนที่อาจจะต้องเรียนออนไลน์อยู่บ้านกันด้วยสภานการณ์โควิดที่เราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าจะหนักขึ้นตอนไหน หากใครที่เบื่อหรือไม่อยากอยู่บ้านเฉยๆ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยน์และได้อัพสกิลทักษะเพิ่มให้กับตัวเอง จะมีคอร์สใดบ้าง ไปดูกันค่ะ…

“6 วิธีรับมือกับภาวะ Burnout ตอนทำวิจัย”

“6 วิธีรับมือกับภาวะ Burnout ตอนทำวิจัย”ภาวะหมดไฟ หรือ Burnout คือภาวะที่จิตใจของเรามีการสะสมความเครียดแบบเรื้อรังจนนำไปสู่ความอ่อนล้าทางร่างกายและอารมณ์ มองความสามารถตัวเองในเชิงลบ ไปจนถึงรู้สึกว่าตัวเองไม่ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม ไม่มีแรงจูในในการทำงาน นอนไม่หลับและอ่อนเพลีย รู้สึกหงุดหงิดง่าย เป็นต้น อาการดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียว แต่มันจะค่อยๆ รู้สึกและสะสมเรื่อยๆ จนกระทั่งเพื่อนๆ รู้สึกว่ามันเริ่มกระทบต่อตัวเอง ในช่วงของการทำโปรเจคจบ ทำเล่มวิทยานิพนธ์ เพื่อนๆ คงจะมีกับปัญหานี้กันใช่ไหมคะ วันนี้เรามีวิธีรับมือกับความเบื่อหนายตอนทำวิจัยมาแนะนำกันค่ะ … 1.กำหนดขอบเขตในการทำงานการที่เรากำหนดเป้าหมายในการทำงานจะช่วยให้เราแยกเวลาชีวิตกับเวลาทำงานได้ ให้เพื่อนๆ กำหนดระยะเวลาในการทำงาน และกำหนดว่างานแต่ละส่วนควรจะเสร็จเรียบร้อยเมื่อใด และในขณะที่เพื่อนๆ กำลังทำงานนั้นก็ควรมีเวลาพักให้ตัวเองเพื่อได้ผ่อนคลายด้วย การที่เรากำหนดขอบเขตเวลาการทำงานนั้นจะทำให้เพื่อนๆ มีเวลาเหลือในส่วนของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาอยู่กับตัวเอง ครอบครัว เพื่อนฝูง ชีวิตเพื่อนๆ ก็จะมีความสมดุลขึ้น ไม่จมอยู่กับงานจนเครียดโดยไม่รู้ตัวค่ะ 2.หาสิ่งเยียวยาเพื่อนๆ ควรที่จะหาหรือสร้างสิ่งที่จะช่วยเยียวยาทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์รวมถึงสิ่งที่ช่วยซัพพอร์ตการทำงาน หากเพื่อนๆ เริ่มรู้สึกเหนื่อยล้า คืนนั้นหลังจากการทำงานอย่างหนักแล้วก็ผ่อนคลายตัวเองด้วยการนอนแช่น้ำอุ่น จุดเทียนหอมกลิ่นผ่อนคลาย เปิดเพลงคลอเบาๆ ก่อนเข้านอนพักผ่อนเพื่อเตรียมพร้อมลุยกับวันใหม่ ในส่วนของสิ่งที่ช่วยซัพพอร์ตการทำงานก็คือหากเพื่อนๆ มีปัญหาหรือติดขัดในการทำงาน การขอความช่วยเหลือจากครอบครัว หรือเพื่อนจะทำให้การทำงานผ่านไปง่ายขึ้นกว่าจัดการคนเดียวแน่นอนค่ะ 3.ห่างจากหน้าจอเสียบ้างในขณะที่หลายคนเล่นโทรศัพท์มือถือเพื่อผ่อนคลาย เราขอแนะนำให้เพื่อนๆ ห่างจากโทรศัพท์มือถือบ้างและแบ่งเวลาให้ตัวเองได้อยู่กับตัวเอง […]

“5 สกิลที่แนะนำให้เรียนออนไลน์เพิ่มเติม”

“5 สกิลที่แนะนำให้เรียนออนไลน์เพิ่มเติม”ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตผู้คนส่วนใหญ่มากขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีมากขึ้นเรื่อยๆ เราเองก็ต้องพัฒนาทักษะของตนเองให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมกับการแข่งขันในอนาคต เรามี 5 สกิลติดตัวที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการทำงานส่วนตัวจนถึงระดับองค์กร ซึ่งสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองหรือมีเป็นคอร์สให้เรียนออนไลน์ได้มาแนะนำให้เพื่อนๆ ค่ะ5 สกิลที่แนะนำให้เรียนเพิ่มเติมเพื่อเตรียมพร้อมกับอนาคต … 1.Content Developmentการเขียนคอนเทนต์นั้นสำคัญไฉน เพื่อนๆ ลองนึกภาพการแข่งขันทางการตลาดในอนาคตที่ผู้คนและองค์กรต่างๆ มากมายต้องโฆษณาสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกเรา การเขียนข้อความในโฆษณา ความสร้างสรรค์ที่จะดึงดูดให้ผู้บริโภคหยุดดูโฆษณาของเราและอ่านเนื้อหาต่อนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ซึ่งก็มีคอร์สที่สอนเกี่ยวกับการเขียนคอนเทนต์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นคอร์สเรียนฟรี หรือคอร์สที่มีโค้ชสอนเราอย่างตรงประเด็น ลองเลือกเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการของเราได้เลย 2.Online Marketingเช่นเดียวกับส่วนของเนื้อหา การตลาดก็เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง และเป็น 1 ใน 5 ทักษะแรกที่พร้อมสำหรับอนาคต พูดง่ายๆ คือการตลาดออนไลน์สามารถช่วยสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ให้กับคุณ องค์กร หรือสินค้าและบริการเป็นที่รู้จักและเป็นที่สนใจ โดยวิธีทางการตลาดก็มีมากมาย การลงคอร์สเรียนจะทำให้เรารู้จักองค์กรของเราและเลือกวิธีที่เหมาะสมทางการตลาดได้ทำให้องค์กรของเราเติบโตได้อย่างดี 3.SEO & Data AnalyticsSEO เป็นขั้นตอนในการทำให้เว็บไซต์ของเราขึ้นในหน้าแรกของการค้นหาโดยไม่ต้องเสียเงิน จะช่วยทำให้เว็บไซต์ของเรามีความน่าเชื่อถืออย่างยั่งยืน Data Analyticsเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของเว็บไซต์เพื่อนำมาพัฒนาเว็บไซต์ของเรา และปรับปรุงการตลาดให้ดียิ่งขึ้น การเรียนรู้สกิลนี้ก็จะทำให้เพื่อนๆ สู้กับคู่แข่งหรืออาจจะถึงขั้นได้เปรียบคู่แข่งเลยค่ะ 4.Advertisingช่องทางในการโฆษณานั้นมีหลากหลายช่องทาง เราควรจะต้องรู้พื้นฐานของแต่ละแพลตฟอร์มที่เราจะนำองค์กรเราไปนำเสนอ ยุคสมัยนี้แพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยม ยกตัวอย่างเช่น Google web, Facebook, Instagram, […]

“7 วิธีง่ายๆ ช่วยโฟกัสการอ่านหนังสือ”

“7 วิธีง่ายๆ ช่วยโฟกัสการอ่านหนังสือ”เพื่อนๆ เป็นกันไหม? อยากจะอ่านหนังสือให้ให้สำเร็จ แต่ก็ฟุ้งซ่านจากสิ่งต่างๆ มากมาย เช่น โซเชียลมีเดีย กิจกรรมที่ชื่นชอบ หรือปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เรามีเทคนิคดีๆ มาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้ลองนำไปทำตามกันดูค่ะ7 วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้โฟกัสการอ่านหนังสือให้ดีขึ้น … 1.ทำให้การอ่านหนังสือเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างน้อยในระหว่างที่เพื่อนๆ เล่นโซเชียลลองหาบทความในอินเทอร์เน็ตอ่านสัก 1 บทความต่อวัน ไม่ว่าจะเป็นบทความสั้นหรือยาว เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับความรู้หรือสิ่งที่ชอบก็ได้ จะอ่านจริงจังหรือเพียงแค่อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน ก็นับว่าเป็นการอ่านทั้งสิ้นค่ะ เพื่อให้ตัวเองได้ซึมซับนิสัยรักการอ่านเวลาที่ต้องอ่านหนังสือเพื่อเรียนหรือสอบจะได้รู้สึกว่าการอ่านเยอะไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไปค่ะ 2.หลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนเสียงเรียกเข้าหรือเสียงแจ้งเตือนโทรศัพท์สามารถทำลายสมาธิของเพื่อนๆ ได้ เพราะฉะนั้นในระหว่างที่อ่านหนังสือควรปิดเสียงโทรศัพท์ไปเลย ไว้ถึงเวลาพักค่อยเช็คโทรศัพท์ทีเดียวจะดีกว่านะคะ ในข้อนี้รวมไปถึงสิ่งรบกวนอื่นๆ รอบตัวด้วยเช่นกัน เช่น มีเสียงดังรบกวนจากบุคคลอื่น แนะนำให้เพื่อนๆ ย้ายสถานที่ในการอ่านให้มีความสงบขึ้นจะดีกว่าค่ะ 3.พักบ้าง!ควรมีเวลาพักให้ตัวเองด้วยหลังจากจดจ่อกับการอ่านหนังสือไปแล้ว 30 นาที แวะพักยืดเส้นยืดสาย เช็คโทรศัพท์ ทานของว่าง สัก 15 นาที หรือภายใน 1 ชั่วโมงพักเบรคสัก 1-2 ครั้ง ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ถ้าฝืนอ่านยาวๆ ทีเดียวให้จบ นอกจากเรื่องอ่านไปจะไม่เข้าหัวแล้ว […]

เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง

ในโลกการทำงานยุคใหม่ ปัญหาที่หลาย ๆ คนต้องเจอคือการจัดระบบเวลาในชีวิตและการทำงาน เพราะมีปัจจัยเยอะมากที่พร้อมกินเวลาของเราไป ไม่ว่าจะเป็นรถติด รถไฟฟ้าเสีย ฝนตก น้ำท่วม และรวมถึงงานที่เข้ามากองรวมกันมากมาย ถึงแม้จะเคลียร์วันนี้ไปได้แล้ว แต่พรุ่งนี้ก็ได้รับงานมาเพิ่มอีก ปัญหาพวกนี้ทำให้ทั้งการทำงานและชีวิตวุ่นวาย จัดการได้ยาก ฉะนั่นวันนี้แอดจะมาแชร์เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง ซึ่งสามารถเริ่มได้จากการแบ่งงานเป็น 4 หมวดและจัดการให้เหมาะกับดังนี้ 1. งานสำคัญและเร่งด่วน :  งานกลุ่มนี้จะเป็นงานที่ ถ้าไม่ดำเนินการก็จะมีปัญหาหรือเกิดวิกฤตขึ้น อาจเกิดผลกระทบมากมาย ไม่คุ้มที่จะรอไว้ก่อน ควรดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งคงตัดสินใจกันไม่ยาก เช่น งานวิทยานิพนธ์ที่ต้องส่งอาจารย์ 2. งานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน :  งานกลุ่มนี้มักจะถูกละเลยเพราะเป็นงานที่ไม่เร่งด่วน แต่มีความสำคัญเรื่องเป้าหมายและเป็นงานที่อยู่ ในแผนงานกลยุทธ์แต่เนื่องจากพอมีเวลา จึงไม่ค่อยมีใครหยิบมาทำเท่าไรนักพอเวลาผ่านไปจึงกลายเป็น งานสำคัญที่เร่งด่วนไปทุกที ดังนี้ งานประเภทนี้ควรได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องแล้วดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ให้ได้ เช่น งานด้านการพัฒนา งานที่เป็นแผนระยะกลางและระยะยาว หากปล่อยผ่านไปอาจลืมแล้วไม่ได้ทำ สุดท้ายจะส่งผลกระทบกับเป้าหมายได้ 3. งานไม่สำคัญแต่เร่งด่วน :  คนส่วนใหญ่ถูกผลักดันให้ทำงานกลุ่มนี้มากที่สุดเพราะเป็นงานที่แทรกกับงานที่ทำตามแผนอยู่สาเหตุ ที่เกิดเหตุการณ์นี้เพราะเราไม่ค่อยมีแผนงานหรือไม่ค่อยไดทำตามแผนทำให้มีงานด่วนเข้ามาได้ เรื่อยๆ ดังนั้น เราควรปฏิเสธงานด่วนที่เข้ามาบ้าง ถ้าไม่ใช่งานวิกฤตเพื่อให้เราสามารถทำงานตามแผนที่วางไว้ได้ครบ งานประเภทนี้ เช่น การประชุมที่ไม่ได้นัดหมาย งานที่คนอื่นขอร้องให้ทำ […]

เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง

ในโลกการทำงานยุคใหม่ ปัญหาที่หลาย ๆ คนต้องเจอคือการจัดระบบเวลาในชีวิตและการทำงาน เพราะมีปัจจัยเยอะมากที่พร้อมกินเวลาของเราไป ไม่ว่าจะเป็นรถติด รถไฟฟ้าเสีย ฝนตก น้ำท่วม และรวมถึงงานที่เข้ามากองรวมกันมากมาย ถึงแม้จะเคลียร์วันนี้ไปได้แล้ว แต่พรุ่งนี้ก็ได้รับงานมาเพิ่มอีก ปัญหาพวกนี้ทำให้ทั้งการทำงานและชีวิตวุ่นวาย จัดการได้ยาก ฉะนั่นวันนี้แอดจะมาแชร์เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง ซึ่งสามารถเริ่มได้จากการแบ่งงานเป็น 4 หมวดและจัดการให้เหมาะกับดังนี้ 1. งานสำคัญและเร่งด่วน :  งานกลุ่มนี้จะเป็นงานที่ ถ้าไม่ดำเนินการก็จะมีปัญหาหรือเกิดวิกฤตขึ้น อาจเกิดผลกระทบมากมาย ไม่คุ้มที่จะรอไว้ก่อน ควรดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งคงตัดสินใจกันไม่ยาก เช่น งานวิทยานิพนธ์ที่ต้องส่งอาจารย์ 2. งานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน :  งานกลุ่มนี้มักจะถูกละเลยเพราะเป็นงานที่ไม่เร่งด่วน แต่มีความสำคัญเรื่องเป้าหมายและเป็นงานที่อยู่ ในแผนงานกลยุทธ์แต่เนื่องจากพอมีเวลา จึงไม่ค่อยมีใครหยิบมาทำเท่าไรนักพอเวลาผ่านไปจึงกลายเป็น งานสำคัญที่เร่งด่วนไปทุกที ดังนี้ งานประเภทนี้ควรได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องแล้วดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ให้ได้ เช่น งานด้านการพัฒนา งานที่เป็นแผนระยะกลางและระยะยาว หากปล่อยผ่านไปอาจลืมแล้วไม่ได้ทำ สุดท้ายจะส่งผลกระทบกับเป้าหมายได้ 3. งานไม่สำคัญแต่เร่งด่วน :  คนส่วนใหญ่ถูกผลักดันให้ทำงานกลุ่มนี้มากที่สุดเพราะเป็นงานที่แทรกกับงานที่ทำตามแผนอยู่สาเหตุ ที่เกิดเหตุการณ์นี้เพราะเราไม่ค่อยมีแผนงานหรือไม่ค่อยไดทำตามแผนทำให้มีงานด่วนเข้ามาได้ เรื่อยๆ ดังนั้น เราควรปฏิเสธงานด่วนที่เข้ามาบ้าง ถ้าไม่ใช่งานวิกฤตเพื่อให้เราสามารถทำงานตามแผนที่วางไว้ได้ครบ งานประเภทนี้ เช่น การประชุมที่ไม่ได้นัดหมาย งานที่คนอื่นขอร้องให้ทำ […]

6 เทคนิค วางแผนเขียนงานวิจัยให้สำเร็จ !

1. วางแผนเกี่ยวกับ ME ต้องรู้จักเราให้ดีพอ เพื่อที่จะวางแผนการเตรียมข้อมูลที่ตั้งใจไว้ ตั้งแต่ศึกษารายปีที่ 1 เพื่อที่เราจะได้เตรียมงานในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด และสิ่งที่สำคัญคือจะต้องปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อทุกอย่างเอื้ออำนวยไปพร้อมๆกันเราจะสามารถทำวิจัยได้ระดับดีมากค่ะ 2. การวางแผนการทำวิจัย เริ่มจากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ต้องอ่านเอกสารที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับวิจัยที่ทำและเก็บรวบรวมให้ได้มากที่สุด แล้วจึงตัดออกภายหลังค่ะ จากนั้นสร้างเครื่องมือรวบรวมความคิดเห็นจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเพื่อใช้ในการสรุปการวิเคราะห์ข้อมูลจะสรุปโดยยึดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นหลัก และสรุปให้ตรงประเด็น/ชัดเจนตามความเป็นจริงที่เราเก็บข้อมูลมาเลยค่ะ ในส่วนของการอภิปรายผลนั้น แนะนำเลยนะคะให้อภิปรายตามข้อค้นพบที่ได้ จากนั้นลงมือเขียน 3. การวางแผนเกี่ยวกับคน MAN หรืออาจารย์นั้นเองค่ะ บุคคลสำคัญในการทำงานงานวิจัยให้แล้วเสร็จโดยง่าย ซึ่งหลักในการเลือกพิจารณาจาก * ต้องมีความรู้ในงานบริหารโครงการวิจัย เพื่อดูภาพรวมให้เรา 5 บท * อาจารย์ในสาขา ที่มีความรู้ในเรื่องที่เราจะทำ อาจารย์จะดูให้ คือ บทที่ 1,2 และ5  * อาจารย์ที่เกี่ยวกับกระบวนการวิจัย หรือการประเมิน คือ อาจารย์จะดูบทที่ 3,4 ให้เราค่ะ * อาจารย์ทั้งหมดต้องทำงานกันเป็นทีม พูดภาษาเดียวกัน ไม่ตีกัน เท่านี้เราก็วางใจว่าเราจบได้แล้วค่ะ 4. Money การเตรียมเงินไว้สำหรับทำวิจัย 1. IS 15,000-30,000 บาท 2. Thesis 30,000-70,000 บาท 3. Dissertation 100,000 บาท ขึ้นไป จำนวนเงินที่บอกจะเป็นค่าถ่ายเอกสาร ค่าหนังสือ ค่าบทความ ค่าจ้างพิมพ์งานค่าเดินทาง ค่าจ้างเก็บข้อมูล ค่าวิเคราะห์ ค่าทำเล่ม ค่านำเสนอผลงานวิจัย และอื่น ๆ 5. การบริหารเวลาการทำวิจัย มีกลยุทธ์ที่สำคัญคือ มีการร่วมกันกับอาจารย์ที่ปรึกษาวางแผนตารางเวลานัดหมาย มีการค้นคว้าเอกสารตลอดเวลาที่ว่างโดยค้นคว้าเอกสารในห้องสมุดทุกวันแล้วจดบันทึกสรุปรายละเอียด มีการจัดสรรเวลาในการเขียนวิจัยอย่างต่อเนื่อง 6. MATERIALS การเตรียมเรื่องเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วางแผนในการสืบค้น การสังเคราะห์ และการเขียนงานวิจัย ซึ่งประกอบด้วย การเขียนให้กระชับชัดเจน รัดกุม ถูกต้องตามหลักภาษาและอย่าเขียนให้เกิดข้อสงสัยมีการเชื่อมโยงต่อเนื่องกันทุกบท และนี่คือ 6 เทคนิค วางแผนเขียนงานวิจัยให้สำเร็จ ! เชื่อว่าหากเพื่อนๆ นำเทคนิคเหล่านี้ไปบ้าง จะทำให้คุณพิชิตงานวิจัยจนสำเร็จง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ หากติดปัญหาทำวิจัย วิทยานิพนธ์ขั้นตอนใดๆ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้เสมอนะคะ 🙂

ก่อนตัดสินใจต้องรู้ ข้อดีข้อเสียการเรียนปริญญาเอก

ถึงเพื่อนๆที่กำลังลังเลอยู่ว่าจะเรียนปริญญาเอกดีไหม? ลองมาดูข้อดีข้อเสียของการเรียนปริญญาเอกกันอีกสักครั้งก่อนการตัดสินใจครั้งสุดท้ายนะคะ มันอาจทำให้อะไร ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้นค่ะ “ข้อดี” 1. วิชาที่ถูกออกแบบมาเพื่อคุณ เพื่อน ๆ จะได้เจาะลึกลงไปในขอบเขตที่ไม่คุ้นเคย จะได้ผลักดันตัวเองให้ลองสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์และอาจสร้างความแตกต่างได้ค่ะ มันเปิดโอกาสให้เพื่อน ๆ ได้ใช้ศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ของความคิดตัวเอง ค้นคว้าและวิจัย เพื่อน ๆ จะเป็นคนที่ขยายขอบเขตความรู้ของมนุษย์ในเรื่องที่ศึกษา 2. มุมมองต่อโลก มุมมองของโลกที่เพื่อน ๆ เห็นจะเปลี่ยนไปตลอดกาลค่ะ มันไม่แปลกเลยที่เพื่อน ๆ จะเริ่มเห็นรูปแบบต่าง ๆ ที่เพื่อน ๆ เคยมองข้ามไป จะสามารถตีความหรือค้นพบแก่นของเรื่องราวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งสร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเองเลยทีเดียวค่ะ 3. ความรู้และทักษะ เพื่อน ๆ จะมีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ดีขึ้นมาก ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับสาขาที่เลือกเรียนด้วยนะคะ แต่สิ่งที่แน่นอนก็คือเพื่อน ๆ จะได้ลับสมอง ฝึกการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลค่ะ และยังจะได้พัฒนาความสามารถในการถ่ายทอดไอเดียที่ซับซ้อนให้เป็นสิ่งที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายอีกด้วยค่ะ 4. ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนนักศึกษา เพื่อน ๆ จะได้สร้างเครือข่ายกับผู้คนที่มาจากพื้นฐานที่แตกต่างกัน ได้ทำสิ่งที่แตกต่างร่วมกัน และคุณจะได้อยู่ในสิ่งที่แวดล้อมที่กระหายความรู้ ซึ่งมันเป็นทั้งเรื่องที่ท้าทายและช่วยเติมเต็มคุณได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียวค่ะ 5. ตารางเวลาที่ว่าง […]

เทคนิคพรีเซนต์งานยังไงให้ดูเป็นมืออาชีพ

ทักษะการนำเสนอและพูดในที่สาธารณะนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตของการทำงานเนื่องจากเรามักต้องพรีเซนต์งานหรือเรียนอยู่เสมอๆ และวันนี้เราได้รวบรวม 7 เทคนิคพรีเซนต์งานยังไงให้ดูเป็นมืออาชีพ มาให้คุณได้เตรียมพร้อมกัน เทคนิคเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารของการนำเสนองานให้ดูมั่นใจและน่าเชื่อถือในการพูดต่อหน้าคนอื่นมากยิ่งขึ้น 1. เริ่มด้วย “ทำไม” วัตถุประสงค์ในการนำเสนอครั้งนี้คืออะไร คุณต้องการจะโน้มน้าวผู้ฟังให้เชื่อคุณเรื่องอะไร หรืออยากให้เขาทำอะไร และประโยชน์ที่ผู้ฟังจะได้รับจากคุณคืออะไร 2. ทำความรู้จักกับกลุ่มผู้ฟัง การทำการบ้านเกี่ยวกับกลุ่มผู้ฟังก่อนเสมอ หากคุณรู้ว่าพวกเขาเชื่อและสนใจในสิ่งใดบ้าง มันจะเอื้อประโยชน์เป็นอย่างมากในการนำเสนอและโน้มน้าวผู้ฟัง และคุณสามารถปรับสไตล์การพูด คำพูดที่ใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังได้อีกด้วย 3. นำเสนอด้วยภาพและคงความเรียบง่าย ควรใช้ภาพเป็นสื่อในการนำเสนอข้อมูลแทนข้อความยาวๆและตัวเลขทางสถิติต่างๆ เพราะข้อมูลที่คุณต้องการนำเสนอนั้นจะเป็นที่จดจำมากกว่าหากเป็นภาพที่น่าสนใจ และควรหลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลที่มากเกินไป พยายามใช้ข้อความในแต่ละสไลด์ให้ กระชับและชัดเจน 4. บอกเล่าด้วยเรื่องราว และเป็นตัวเอง การพรีเซนต์งานด้วยข้อมูลหนักๆและตัวเลขทางสถิติอาจจะทำให้คุณดูมีความรู้แต่แน่นอนว่าอาจไม่มีใครจำสิ่งที่คุณพูดได้ ในทางกลับกัน การบอกเล่าด้วยเรื่องราว อารมณ์ และมุ่งเน้นความสนใจกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะทำให้ผู้ฟังจดจำได้ดีกว่า 5. ฝึกซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมเสมอ หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “Practice makes perfect” กันมาแล้ว ฉะนั้นคุณควรฝึกซ้อมการพรีเซนต์ให้มากเท่าที่คุณทำได้ พร้อมทั้งทบทวนเนื้อหาและจดจำลับดับของสไลด์ให้ดี คุณอาจใช้วีดีโอบันทึกภาพขณะที่ฝึกซ้อมเอาไว้ เพื่อดูจุดบกพร่องและนำมาแก้ไขต่อไป นอกจากนั้นแล้ว คุณไม่ควรอ่านจากสไลด์หรือสคริปท์โดยตรง แต่ควรใช้เพียงโน๊ตสั้นๆและเล่าด้วยจังหวะที่เป็นธรรมชาติ 6. ลองใช้กฎ “10 นาที” ผู้ฟังอาจหมดความสนใจหากคุณพูดนานเกินไป ลองใช้กฎ “10 นาที” มาปรับใช้กับการพรีเซนต์งานของคุณ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนไม่ควรพูดนานเกิน 10 นาที จากนั้นอาจเว้นด้วยการให้รับชมภาพประกอบ หรือวีดีโอ แล้วจึงนำเสนอเนื้อหาในส่วนถัดไป 7. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง หากคุณพูดเพียงคนเดียวเป็นเวลานานๆ ผู้ฟังอาจเกิดความเบื่อหน่ายได้ ฉะนั้นคุณอาจลองให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมโดยการเปิดโอกาสให้ออกความเห็นหรือตั้ง คำถามบ้าง เพื่อดึงสติผู้ฟัง และเช็กว่าผู้ฟังยังคงจดจ่ออยู่กับการนำเสนอของคุณ

เทคนิคแก้ภาวะ BURNOUT SYNDROME

เชื่อว่าทุกคนต้องเคยเจอปัญหานี้อย่างแน่นอน หรือถ้าใครไม่รู้ว่าอาการมันเป็นยังไงมาทำความรู้จักกัน BURNOUT SYNDROME ภาวะการหมดไฟคืออะไร? BURNOUT SYNDROME คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียด จนบางครั้งรู้สึกมีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ เบื่อหน่าย ไม่หยิบจับทำอะไร รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ มองงานที่กำลังอยู่ในเชิงลบ ขาดความสุข สนุกในเนื้องาน หมดแรงจูงใจประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง บางรายอาจรู้สึกเหินห่างจากเพื่อนร่วมงาน จนทำให้ความมีความรู้สึกหมดเรี่ยวแรงไม่อยากทำอะไร ไม่มีอารมณ์เขียนงานวิจัย พฤติกรรมที่จะทำให้เราเป็น BURNOUT SYNDROME  มันเป็นความอ่อนล้าทางอารมณ์ จิตใจ และร่างกายจากการที่เราต้องเผชิญหน้ากับงานที่หนักมากก และเครียดติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ●​เขียนงานหนักมาก ติดกันหลายๆวัน ในเวลาอันจำกัด อาจารย์เร่งจนไฟรนก้นแล้วค่ะ ●​เขียนไปโดยไร้จุดหมาย ไร้ความมั่นใจ ไม่รู้เลยว่ามันถูกต้องหรือไม่ เขียนไปอย่างงั้นแหละไม่มีใครอนุมัติได้เลย ต้องรออาจารย์อย่างเดียว ●​ระบบจัดเรียงลำดับความสำคัญเริ่มพังง งงไปหมด ทำอะไรก่อนดี แก้อันไหนก่อนดี ●​รู้สึกว่าแก้เท่าไหร่ก็ไม่เห็นจะผ่านเลย ไม่เห็นอนาคตของตัวเองที่จะผ่านได้เลยด้วย โดยภาวะเริ่มแรกจะเกิดขึ้นเมื่อน้องๆ รู้สึกว่าตัวเองรับมือกับงานต่างๆ ไม่ไหวอีกต่อไป จนอยากจะเท! เท!! เททุกอย่าง!!! ซึ่งหากเรามีพฤติกรรมเหล่านี้ มันจะส่งผลถึงผลเสียตามาม ดังนี้เลย ●​เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง ●​ปวดเมื่อย ปวดไมเกรนบ่อยๆ ●​นอนไม่หลับ […]